เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คัพ 2022 หรือ อาเซียน คัพ 2022 รายการชิงความเป็นอันดับหนึ่งของฟุตบอลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้กลับมาใช้ระบบเหย้า-เยือน อีกครั้ง บทความนี้จะพาไปรู้จัก 10 สนามเหย้าของแต่ละชาติที่เข้าร่วม
สิงคโปร์
จาลัน เบซาร์ สเตเดียม หรือ จาลัน เบซาร์ แอคทีฟ เอสจี สเตเดียม สนามที่ตั้งอยู่ที่เมืองกัลลัง เป็นสนามเหย้าของ Young Lions สโมสรในพรีเมียร์ลีกของสิงคโปร์ สนามกีฬาแห่งนี้ยังใช้เป็นสนามเหย้าสำรองของสนามกีฬาแห่งชาติโดยทีมฟุตบอลชาติสิงคโปร์ สมาคมฟุตบอลแห่งสิงคโปร์ (FAS) ก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสนามกีฬาเช่นกัน มีความจุ 6,000 ที่นั่ง

ฟิลิปปินส์
สนามริซาล เมโมเรียล สเตเดียม ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา สนามกีฬาแห่งนี้ยังเป็นสนามเหย้าอย่างเป็นทางการของทีมฟุตบอลชาติฟิลิปปินส์ มีความจุ 12,873 ที่นั่ง

บรูไน
สนามกัวลาลัมเปอร์ สเตเดี้ยม ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในการแข่งขัน “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คัพ 2022” จะใช้เป็นรังเหย้าของทีมชาติ บรูไน มีความจุ 18,000 ที่นั่ง

ลาว
สนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16 เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในเวียงจันทน์ ประเทศลาว สร้างเสร็จเมื่อปี 2009 ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอล เคยใช้ในพิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2009 มีความจุ 25,000 ที่นั่ง

ไทย
สนาม ธรรมศาสตร์ รังสิต ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ 1998 มีลักษณะเหมือนสนามราชมังคลากีฬาสถานในเวอร์ชั่นลดขนาดลง แม้จะไม่ใช่สนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแต่ในศึก อาเซียน คัพ 2022 ได้รับเลือกให้เป็นรังเหย้าของทัพ “ช้างศึก” ความจุ 25,000 ที่นั่ง

เมียนมา
สนามธุวันนา สเตเดี้ยม เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองย่างกุ้ง โดยมีลู่วิ่งขนาด 8 เลน ซึ่งถิอเป็นสนามกีฬาเป็นแห่งแรกในเมียนมาร์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน IAAF มีความจุ 32,000 ที่นั่ง

เวียดนาม
สนามกีฬาแห่งชาติหมีดิ่ญ ตั้งอยู่ที่กรุงฮานอย จุดศูนย์กลางของศูนย์กีฬาแห่งชาติของเวียดนาม เปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2003 สนามกีฬาขนาด 40,192 ที่นั่งแห่งนี้ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเวียดนาม

กัมพูชา
สนามกีฬาแห่งชาติมรดกเตโช เป็นสนามกีฬาฟุตบอลและกรีฑาในกรุงพนมเปญ โดยได้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน 1,100 ล้านหยวนจีน (ประมาณ 160 ล้านดอลลาร์) สำหรับการก่อสร้างสนามกีฬา พัฒนาโดย China State Construction Engineering Corporation วิศวกรชาวจีนประมาณ 340 คน คนงานและช่างเทคนิคชาวกัมพูชา 240 คนมีส่วนร่วมในการก่อสร้าง สนามแห่งี้เตนียมรองรับการเป็นเจ้าภาพ ซีเกมส์ 2023 ที่กำลังจะถึง มีความจุถึง 60,000 ที่นั่ง

อินโดนีเซีย
สนามกีฬาหลัก เกโลร่า บังการ์โน่ ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งชื่อตามซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในขณะนั้น ผู้จุดประกายแนวคิดในการสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์ เปิดใช้งานครั้งแรกก่อนเอเชียนเกมส์ 1962 สนามกีฬามีความจุ 110,000 ที่นั่ง ก่อนที่จะมีการลดขนาดลด 2 ครั้ง ที่นี่เป็นสนามฟุตบอลสมาคมที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 28 ของโลก และเป็นสนามสมาคมฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย ปัจจุบันมีความจุ 77,193 ที่นั่ง

มาเลเซีย
สนามกีฬาแห่งชาติบูกิต จาลิล ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชีย และเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก ด้วยความจุ 87,411 ที่นั่ง
